วันพุธที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2556

ข้อสอบ

1. ความรุนแรงในเด็กคือข้อใด
ก. การทำร้ายเด็กที่มีอายุต่ำกว่า ๑๘ ปีลงไป
ข. การทำร้ายเด็กที่มีอายุต่ำกว่า ๑๕ ปีลงไป
ค. การทำร้ายเด็กที่มีอายุต่ำกว่า ๑๐ ปีลงไป
ง. การทำร้ายเด็กที่ถูกทอดทิ้งหรือกำพร้า

2. ความรุนแรงต่อเด็ก หมายถึงข้อใด
ก. การทำร้ายทางร่างกายทางจิตใจด้วยวาจา
ข. การทำร้ายทางเพศ
ค. การทอดทิ้งเด็กที่มีอายุต่ำกว่า ๑๘ ปี
ง. ถูกทุกข้อ

3. สาเหตุใดที่เด็กมักจะถูกทำร้ายร่างกายโดยไม่ได้เกิดจากอุบัติเหตุ
ก. เด็กทะเลาะเบาะแว้งกันเอง
ข. ผู้ใหญ่โกรธหรือหงุดหงิดแล้วมาระบายอารมณ์ที่เด็ก
ค. ผู้ใหญ่ไม่ดูแลเอาใจใส่เด็ก
ง. เด็กขาดความมั่นใจ

4. ลักษณะใดเป็นลักษณะการทำร้ายทางจิตใจทางวาจา
ก. การบังคับขู่ขวัญ
ข. การเหยียดหยาม
ค. การด่าทอ
ง. ถูกทุกข้อ

5. ข้อใดคือผลกระทบต่อเด็กที่ถูกกระทำรุนแรง
ก. หวาดกลัว สับสน
ข. หมดอาลัยในชีวิต
ค. อาฆาต พยาบาท
ง. ถูกทั้งข้อ ก. และ ข.

6. ข้อใดจัดเป็นผลกระทบที่รุนแรงต่อกลุ่มวัยเรียนและวัยรุ่น
ก. พัฒนาการช้าลง
ข. เกิดอาการหวาดผวา
ค. มีพฤติกรรมป่าเถื่อน เป็นอาญชญากร
ง. ซึมเศร้า

7. การแก้ไขปัญหาความรุนแรงในเด็กที่ครอบครัวต้องรับผิดชอบ คือข้อใด
ก. ให้ความรักความผูกพัน
ข. ส่งเสริมสถาบันครอบครัวให้มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องสิทธิมนุษยชน
ค. ส่งเสริมสถาบันครอบครัวให้มีความรู้เกี่ยวกับสิทธิเด็ก
ง. ถูกทุกข้อ

8. เมื่ออยู่ในโรงเรียน นักเรียนมีส่วนช่วยทำหน้าที่สำคัญในเรื่องเกี่ยวกับการกระทำรุนแรงต่อเด็กอย่างไรบ้าง
ก. ช่วยสอดส่องดูแลภายในโรงเรียน
ข. เห็นแล้วปิดปากเงียบ ไม่กล้าบอกใคร
ค. ให้ความร่วมมือกับผู้กระทำความรุนแรง
ง. รีบหนีไป กลัวโดนจับ

9. การให้เด็กนักเรียนผู้ปกครองและประชาชนทั่วไปเกิดความรู้ และเข้าใจในสิทธิเด็กจะช่วยให้เกิดสิ่งใดตามมา
ก. เกิดความร่วมมือร่วมใจกันแก้ไขความรุนแรงในเด็กให้ลดน้อยลง
ข. เกิดการยอมรับและเห็นใจผู้ถูกกระทำรุนแรงต่อเด็ก
ค. ร่วมกันป้องกันคุ้มครอง และแก้ไขพฤติกรรมรุนแรงต่อเด็ก
ง. ถูกทั้งข้อ ก. และ ข้อ ค.

10. หน่วยงานที่ดูแลสิทธิเด็กคือหน่วยงานใด
ก. มูลนิธิปวีณา
ข. มูลนิธิร่วมกตัญญู
ค. มูลนิธิปอเต็กตึ้ง
ง. มูลนิธิพึ่ง (ภา)

ความรุนแรงในครอบครัว สังคม และอินเตอร์เนต

ช่วงนี้ฝนเริ่มตก เหมือนๆ อากาศจะเริ่มหายร้อน เช่นเดียวกับการเมืองบ้านเรา ที่ทำท่าว่าจะมีทางออกเสียที แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นยังรับประกันไม่ได้ว่าฝนจะตกจริงหรือยัง หรือทางออกการเมืองบ้านเราจะใช่ทางออกจริงหรือไม่ เพราะยังไม่ทันไรน้ำลายก็ปลิวว่อนอีกแล้ว ไม่ว่าเสียงคัดค้าน หรือเสียงสนับสนุน ..โอเค เซ แค่นี้
สิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสังคม ไม่ว่าจะเรื่องเล็กเรื่องใหญ่ มักจะถูกผูกโยงหรือมีที่มาจากครอบครัวทั้งสิ้น เนื่องจากครอบครัวคือรากฐานของสังคมนั่นเอง และเรื่องที่จะพูดถึงในวันนี้ก็เช่นเดียวกัน เรื่องของความรุนแรง และสุดท้ายเราจะลองมาดูซิว่า จริงๆ แล้วปัญหาความรุนแรงเกิดจากใครกันแน่
stop_violation_lady
หยุดความรุนแรงต่อผู้หญิง
บ้านเราที่ได้ยินอยู่บ่อยๆ คือ ความรุนต่อเด็กและสตรี รวมไปถึงความรุนแรงในครอบครัว ซึ่งองค์กรต่างๆ ต่างก็ให้ความสำคัญ และมีกิจกรรมกันอย่างต่อเนื่อง ยิ่งบางช่วงจะมีกิจกรรมออกมาถี่มาก ถี่ยิ่งกว่าโปรโมชั่นลดแลกแจกแถมของเหล่าห้างร้านเสียอีก ประมาณว่ารณรงค์ปีนี้เพื่อให้ความรุนแรงหายไปในปีหน้ากันเลยทีเดีย


แต่สิ่งที่ปรากฎให้เห็นตามหน้าหนังสือพิมพ์ไม่เว้นวันก็คือ ข่าวอาชญากรรม น้องฆ่าพี่ ลูกฆ่าแม่ ผัวฆ่าเมีย ผัวยิงเมียแล้วยิงตัวตาม ..เหล่านี้ ล้วนแล้วแต่เป็นความรุนแรงที่เกิดขึ้นภายในครอบครัว จึงมีคำถามว่าเราจะวัดผลของการรณรงค์ได้อย่างไร เพื่อการพัฒนาปรับปรุงสู่เป้าหมายการหยุดยั้งความรุนแรง
จะเกิดอะไรขึ้น หากเราขาดกิจกรรมรณรงค์ลดความรุนแรงในครอบครัว ปัญหาเล่านี้อาจจะมีมากยิ่งกว่านี้ และแน่นอนว่าเหยื่อจากเหตุการณ์รุนแรงเหล่านี้ คงจะไม่อาจหาที่พึ่งได้ หากไม่มีองค์กรเหล่านี้คอยยื่นมือเข้าช่วยเหลือ ..เราเองก็ขอรณรงค์
ซึ่งว่าไปแล้ว ความรุนแรงในครอบครัว หากเกิดขึ้นกับครอบครัวใด องค์กรที่รับผิดชอบในด้านนี้ยังสามารถเข้ามาดูแล และหยุดยั้งปัญหาไม่ให้บานปลายได้ ..แม้ด้านจิตใจจะยากเยียวยาก็ตาม
ความรุนแรงในสังคม ปัจจุบันถือเป็นปัญหาที่มองเห็นได้ชัดเจนมาก ไล่ตั้งแต่กีฬาสีระดับชาติอย่าง เสื้อเหลือง เสื้อแดง เสื้อน้ำเงิน เสื้อขาว เสื้อชมพู ไปจนถืง กลุ่มเสื้อหลากสี
หากจะไล่ย่อยลงมาอีกคือ ความขัดแย้งและความรุนแรงระหว่างสถาบันอาชีวะศึกษา ความขัดแย้งระหว่างชุมชน ภายในชุมชน จนถึงความขัดแย้งกับเพื่อนบ้านข้างๆ
น่าเสียดายที่ความขัดแย้งในสังคมบางครั้งก็ยากที่จะหาทางออก อย่างปัญหาเรื่องกีฬาสีที่บ้านเราพบเจออยู่ในขณะนี้ เพราะแม้แต่พวกผู้ใหญ่ในบ้านเมืองของเราเอง ก็ก็ยังอดไม่ได้ที่จะโดดเข้าไปคลุกวงในกับเค้าด้วย กลุ่มองค์กรต่างๆ ที่เคยทำหน้าทีเป็นตัวกลาง ก็ยังต้องเลือกฝักเลือกฝ่าย โดยเฉพาะในกลุ่มของสื่อสารมวลชน ที่เอาตัวเข้าไปอยู่ในปมขัดแย้งมากจนเกินไป ..เรื่องนั่งเทียนใส่สีตีไข่ กลายเป็นเรื่องจิ๊บๆ ไปเสียแล้ว
เมื่อส่วนต่างๆ ในสังคมมันบิดเบี้ยว จึงไม่มีใครฟังใคร ไม่มีใครเป็นที่น่าเชื่อถือของทุกฝ่าย (หลายฝ่ายเกิน) บ้านเมืองจึงติดแหง็กอยู่อย่างนี้ เพราะไม่มีคนกลางคอยไกล่เกลี่ย หรือเป็นตัวกลางประสานรอยร้าวในครั้งนี้
ส่วนในเรื่องการรณรงค์ต่างๆ เช่นว่า “หยุดทำร้ายประเทศไทย”
 ก็ดูเหมือนจะไม่ได้ผล เพราะแต่ละฝ่ายก็ดูเหมือนจะยุ่งเกินกว่าที่จะมาฟังเสียงของคน หรือกลุ่มองค์กรเหล่านี้ ที่สำคัญเลยก็คือ ความขัดแย้งหรือความรุนแรงครั้งนี้ใหญ่เกินกว่าที่ใครจะออกมาห้ามกันได้ ง่ายๆ ..ผู้ห้าม ผู้รณรงค์จึงกลายเป็นแค่คนตัวเล็กๆ
อย่าว่าแต่ปัญหาการเมืองในขณะนี้เลย แม้แต่เรื่องเด็กแว๊น กับสาวสก๊อยยังแก้กันไม่จบ
ด้วยความหลากหลายของความรุนแรงในสังคม บางอย่างอาจแก้จบได้โดยง่าย แต่บางอย่างอาจต้องอาศัยเวลา ..หรืออาจจะแก้ไม่ได้เลยด้วยซ้ำ สิ่งที่พอทำได้คือ เฝ้ารอให้ความรุนแรงเหล่านั้นเบาบางลง
เอาล่ะมาถึงไฮไลท์ของเรื่องนี้ ความรุนแรงบนโลกอินเตอร์เนต ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นในเรื่องของการใช้คำพูด ด่าทอ ข่มขู่ ซึ่งว่าไปแล้วก็คงไม่ใช่เรื่องใหญ่ เพราะไม่มีใครต้องเจ็บเนื้อเจ็บตัว (ส่วนเรื่องสภาพจิตใจ ช่าง..) แต่ล่าสุดเห็นมีข่าวออกมา ถึงขั้นที่ขู่จะเอาชีวิตกันเลยทีเดียว
สองวันนี้ก็แวะไปเยี่ยมเว็บเพื่อนบ้านของเรา ถึงรู้ว่าม้งเราก็อินเทรนด์กับเค้าเหมือนกัน เค้ามีการเขม่นกันในอินเตอร์เนต ม้งเราก็มี เค้ามีการด่าทอด้วยถ้อยคำที่ไม่สุภาพ ม้งเราก็ใช่ย่อย คนอื่นเค้าข่มขู่กันผ่านโลกอินเตอร์เนต ม้งเราก็เอาบ้าง
ด้วยข้อจำกัดหลายๆ อย่าง จึงเป็นเรื่องยากที่จะป้องปรามความรุนแรงที่เกิดขึ้นบนโลกอินเตอร์เนต ถึงแม้จะมีองค์การที่เค้าดูแลด้านนี้อยู่ก็ตาม
แต่อยากขอเตือนพวกเราชาวม้งไว้ว่า ด้วยข้อมูลที่พวกเรามักจะทิ้งไว้ตามเว็บไซต์ต่างๆ จึงมีความเป็นไปได้ที่คู่อริในอินเตอร์เนตของเรา (ไม่ว่าเราตั้งใจสร้างคู่อริหรือไม่ก็ตาม) เค้าอาจจะไปค้นหาข้อมูลของเราจากเว็บไซต์อื่น และนำมาก่อความเสียหายกับเราได้
หากเรากระทบกระทั่งกันเฉพาะในชุมชนออนไลน์ของม้งเรา ผมเชื่อว่าคงไม่มีอะไรเลยเถิดหรือบานปลาย แต่เตือนไว้ในกรณีที่เราต้องไปอยู่ร่วมกับสังคมออนไลน์อื่น ซึ่งเค้าอาจจะมีวัฒนธรรมที่ต่างไปจากเรา
ฉะนั้นทางที่ดีที่สุดคือ หลีกเลี่ยงการมีคุ่อริ ด้วยการสร้างความความรุนแรงบนอินเตอร์เนต เพราะอย่างที่บอก มันเป็นเรื่องยากที่องค์กรที่รับผิดชอบจะเข้ามาดูแลได้ ฉะนั้นเราจึงควรต้องดูแลตัวเราเอง โดยไม่ไปก่อปัญหากับใครโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ..ที่สำคัญเราต้องสำนึกรู้ ที่จะรักษาภาพบรรยากาศมิตรภาพระหว่างชาวม้งด้วยกัน
เมื่อมาถึงจุดนี้ ทุกคนจะเห็นได้ว่าปัญหาในสังคมไม่น่าจะใช่มาจากครอบครัวเสียแล้ว หากแต่เป็นที่ตัวบุคคล หรือปัจเจกบุคคล และตัวบุคคลนี่แหละที่เป็นจุดเริ่มของปัญหาต่างๆ เริ่มกันตั้งแต่ในครอบครัว ที่ประกอบด้วยคนเพียงไม่กี่คน ไปจนถึงระดับประเทศ ไหนยังจะต้องมาเจอกับโลกอินเตอร์เนตอีก
สรุปก็คือ ที่ไหนที่มีคนอยู่ตั้งแต่สองคนขึ้นไป ที่นั่นย่อมสุ่มเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาขึ้นได้เสมอ ..และหากความรุนแรงเกิดขึ้นแล้ว จงอย่าโทษ “ซวย” เรานี่แหละที่เป็นคนก่อมันขึ้นมา