ภาวะสุขภาพ

การประเมินภาวะสุขภาพชุมชน หมายถึง การวิจัยปัญหาด้านสุขภาพของประชาชนในชุมชน เพื่อดูว่าสถานภาพทางสุขอนามัยอยู่ในระดับใดและมีปัญหาใดบ้างที่ต้องปรับ ปรุง           
       พฤติกรรมเสี่ยงของชุมชน คือ พฤติกรรมใดๆ ของคนในชุมชน เมื่อปฏิบัติแล้วก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพ นำไปสู่โรคภัยและอันตรายถึงชีวิต           
       สิ่งที่ประเมินได้แก่
1.ข้อมูลลักษณะประชากร
2.อัตราการเกิด/การตาย
3.อัตราการเจ็บป่วย
4.ข้อมูลทางเศรษฐกิจและสังคม
5.สภาพแวดล้อม
6.การดำเนินชีวิต
7.พฤติกรรรมด้านสุขภาพ 

          
       ข้อ ดีของการประเมินดังกล่าวคือหากเกิดปัญหาสุขภาพขึ้นในชมชน ย่อมสามารถหาวิธีการป้้องกันและแก้ไขได้อย่างทันท่วงที นอกจากนี้ยังเป็นการรักษาภาวะสุขภาพของคนในชุมชนให้ดีต่อไปอีกด้วย
 
8.2 การประเมินภาวะสุขภาพและพฤติกรรมเสี่ยงของชุนชน*      
                การประเมินภาวะสุขภาพของชุนชนการประเมินภาวะสุขภาพของชุนชน เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลของชุนชน มีองค์ประกอบ 3 ด้านที่สำคัญ ดังนี้
        1.คน เป็นตัวบ่งชี้สุขภาพอนามัยของชุนชนโดยรวม แสดงให้เห็นถึงปัญหาสุขภาพ การเจ็บป่วย และความต้องการด้านสุขภาพ ประกอบไปด้วยด้านต่างๆ ดังนี้
            - ลักษณะประชากรและสถานภาพต่างๆของประชารในชุมชน นำมาทำนายภาวะสุขภาพของชุมชนได้
            - ข้อมูลบ่งชี้สภาวะสุขภาพอนามัยของประชากรในชุมชน
            - ข้อมูลเกี่ยวกับวิถีชีวิต ความรู้ เจตคติ และ พฤติกรรมสุขภาพ
       2. สิ่งแวดล้อมและลักษณะทั่วไปของชุมชน    สามารถ บอกภาวะสุขภาพและระดับสุขภาพของชุมชน นำมาวิเคราะห์ร่วมกับข้อมูลทางประชากรของชุมชนก็จะพบสาเหตุของปัญหาสุขภาพใน ชุมชน โดยข้อมูลทางด้านสิ่งแวดล้อมลักษณะทั่วไปที่ นำมาศึกษา ได้ แก่ สภาพพื้นที่ สถานที่ตั้ง ภูมิประเทศ  ความสะอาด ความมั่นคง ความเป็นระเบียบของชุมชน รวมทั้งสภาพของมลภาวะและสารพิษ ซึ่งสามารถเป็นตัวทำนายภาวะสุขภาพของชุมชนได้
      3. ระบบสังคมและการบริการด้านสาธารณสุข เป็นตัวบ่งชี้สุขภาพโดยรวมของชุมชน เช่น รูปแบบการปกครอง ผู้นำชุมชน กระบวนการตัดสินใจของบุคคลในชุมชน เป็นต้น *      
                 การประเมินพฤติกรรมเสี่ยงทางสุขภาพของชุมชนพฤติกรรม เป็นการกระทำหรือการแสดงออกของบุคคล ถ้าบุคคลมีพฤติกรรมทางสุขภาพไม่ถูกต้องโดยเฉพาะพฤติกรรมเสี่ยงทางสุขภาซึ่ง หมายถึงพฤติกรรมที่บุคคลในชุมชนปฏิบัติ อาจนำไปสู่การเกิดอันตรายต่อชีวิตและสุขภาพของตนเอง ครอบครัว และสุขภาพของชุมชนโดยรวม            
        การ ประเมินพฤติกรรมเสี่ยงทางสุขภาพของชุมชน ทำให้ทราบถึงความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมกับปัญหาสุขภาพ รู้ถึงสาเหตุของพฤติกรรมเสี่ยง ทำให้ง่ายต่อการแก้ไขปัญหา           
        พฤติกรรมเสี่ยงที่เป็นปัญหาต่อสุขภาพของชุนชน
1.       พฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ เช่น การฝ่าฝืนกฎจราจรของผู้ขับขี่
2.       พฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดสารเสพติด เช่นชุมชนเป็นแหล่งแพร่ระบาดของยาเสพติด
3.       พฤติกรรมเสี่ยงทางเพศกับการเกิดโรคเอดส์ เช่น พฤติกรรมการสำส่อนทางเพศ ไม่สวมถุงยางเมื่อมีเพศสัมพันธ์         
4.       พฤติกรรมเสี่ยงจากการบริโภคอาหารที่ไม่เหมาสม และการขาดการออกกำลังกาย
5.       พฤติกรรมเสี่ยงต่อความเครียดและปัญหาความรุนแรง
 

8.3 กลวิธีลดความเสี่ยงและการสร้างเสริมสุขภาพของตนเอง ชุมชน และสังคม
-นำหลัก 6 อ. ของกระทรวงสาธารณสุขมาประยุกต์ใช้ในการดูแลสุขภาพดังนี้
1. ออกกำลังกาย สัปดาห์ละ 3 ครั้ง ครั้งละ 30 นาที และควรเลือกออกกำลังายให้เหมาะสมกับเพศและวัย
2.อาหาร ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ในปริมาณที่เพียงพอต่อร่างกาย
3.อารมณ์ หมั่นดูแล และจัดการกับอารมณ์ของตนเองให้อยู่ในภาวะปกติเสมอ เช่น นอนให้เพียงพอ นั่งสมาธิ เป็นต้น ถ้าอารมณ์ดีร่างกายก็จะหลั่งสารความสุขออกมา มีผลดีต่อร่างกาย
4.อนามัย สิ่งแวดล้อม คนในชุมชนควรดูแลสิ่งแวดล้อมให้มีความสะอาด ปลอดภัย และน่าอยู่อาศัย ถ้าสิ่งแวดล้อมรอบตัวเป็นพิษก็ยากที่จะมีสุขภาพที่ดี
5.อโรค ยา คือการที่ไม่มีโรคมาเบียดเบียน การหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพเป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยลดปัญหาการเกิด โรคและการเจ็บป่วยต่างๆ เช่น ไม่ดื่มสุรา เสพยาเสพติด สำส่อนทางเพศ รับประทานอาหารสุกๆ ดิบๆ เป็นต้น
6.อบายมุข หลีกเลี่ยงอบายมุขทุกชนิด 


อ้างอิงจาก 
ดร.สมหมาย แตงสกุลและดร.ธาดา วิมลวัตรเวที.  สุขศึกษาและพลศึกษาม.6. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช. 

1.       ข้อใดไม่จัดว่าเป็นการวางแผนดูแลสุขภาพของบุคคลในครอบครัว
.    ดูแลเรื่องการพักผ่อน                                          .    ดูแลเรื่องการรักษาพยาบาล
.    ดูแลเรื่องการประกอบอาชีพ                             .     ดูแลเรื่องอาหารในแต่ละวัน
2.       การดูแลอาหารในแต่ละวันทำได้อย่างไร
.    จัดให้ครบทุกมื้อ                                                  .    จัดให้ถูกหลักโภชนาการ
.    ดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 6 - 8 แก้ว                       .     ทุกข้อที่กล่าวมา
3.       ข้อใดเป็นการวางแผนดูแลสุขภาพ
.    วันอาทิตย์จะต้องไปดูภาพยนตร์กับวิภา
.    หาเสื้อผ้าสวยๆ ไปงานปาร์ตี้กับเพื่อนๆ
.    ทุกวันอาทิตย์เก็บขยะรอบบริเวณบ้าน
.     กางเกงยีนส์ต้องไม่ซัก เพราะทำให้สีซีดลง
4.       ในแต่ละวันควรดื่มน้ำอย่างน้อยวันละกี่แก้ว
.    4 – 6 แก้ว                                                              .    6 – 8 แก้ว
.    8 – 10 แก้ว                                                            .     10 – 12 แก้ว
5.       การออกกำลังกายควรปฏิบัติอย่างน้อยครั้งละกี่นาทีและสัปดาห์ละไม่น้อยกว่ากี่วัน
.    30 นาที  สัปดาห์ละ 3 วัน                                   .    45 นาที  สัปดาห์ละ 3 วัน

.    30 นาที  สัปดาห์ละ 5 วัน                                   .     45 นาที  สัปดาห์ละ 5 วัน

6.       เด็กควรนอนอย่างน้อยวันละกี่ชั่วโมง
.    5 – 7 ชั่วโมง                                                         .    6 – 8 ชั่วโมง
.    7 – 9 ชั่วโมง                                                         .     8 – 10 ชั่วโมง
7.       ในแต่ละปีบุคคลในบ้านควรได้รับการตรวจร่างกายอย่างน้อยกี่ครั้ง
.    1 ครั้ง / ปี                   .    2 ครั้ง / ปี                   .    3 ครั้ง / ปี               .     4 ครั้ง / ปี

8.       ปัจจัยใดมีการเสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์มากที่สุด
.    การจับคู่                                                         .    วีซีดีลามก

.    สื่อสารมวลชน                                             .     การแต่งกายล่อแหลม

9.       ภัยของหญิงสาวที่ชอบเที่ยวกลางคืน  ข้อใดร้ายแรงที่สุด
.    ถูกหลอกไปข่มขืน                                       .    ถูกหลอกไปเสพสารเสพติด
.    ถูกฉุดขึ้นรถแล้วพาไปข่มขืน                    .     ถูกฉุดไปในที่เปลี่ยว  ข่มขืนแล้วฆ่าทิ้ง
10.    สาเหตุสำคัญที่วัยรุ่นชายหญิงจับคู่เป็นแฟนกันคือข้อใด
.    ทำตามๆ กัน                                                  .    สื่อต่างๆ ชี้นำ
.    เพื่อหาประสบการณ์                                   .     เป็นความต้องการทางด้านร่างกายและจิตใจ
11.    พฤติกรรมเสี่ยงในข้อใดมีความเสี่ยงในการมีเพศสัมพันธ์มากที่สุด
.    สนใจเรื่องเพศมาก                                      .    มีความมักมากในกาม
.    ชอบถูกเนื้อต้องตัวเพศตรงข้าม                .     เคยมีประสบการณ์ทางเพศมาแล้ว
12.    ความผิดหวังในความรักข้อใดมีโอกาสก่อให้เกิดความรุนแรงได้
.    ความหึงหวง                                                 .    พ่อแม่กีดกัน

.    รักเขาข้างเดียว                                             .     แฟนไปคบแฟนใหม่

13.    เมื่อถูกปฏิเสธความรักควรทำอย่างไร
.    ขู่บังคับ                                                          .    เลิกคบเด็ดขาด
.    ร้องไห้เสียใจให้พอ                                    .     ตัดใจและทำจิตใจให้สบาย
14.    ข้อใดมิใช่ความกดดันทางเพศ
.    ถูกข่มขืน                                                       .    เต็มใจมีเพศสัมพันธ์
.    ถูกข่มขู่ให้มีเพศสัมพันธ์                            .     ถูกล่อลวงไปขายบริการทางเพศ
15.    ความสนใจในรูป  กลิ่น  เสียง  และการสัมผัสของเพศตรงข้ามมากเป็นพิเศษตรงกับข้อใด
.    ความใคร่                                                       .    ความรัก
.    ความพึงพอใจ                                              .     ความมักมากในกาม
16.    ความรักเป็นความสวยงาม  ความพอใจ  ความอบอุ่น ความหวานซึ้ง เป็นมุมมองความรักของใคร
.    ผู้ชาย                          .    ผู้หญิง                .    กระเทย                          .     ทอมหรือดี้
17.    ข้อใดเป็นค่านิยมในเรื่องเพศที่ไม่เหมาะสม
.    เรื่องเพศเป็นเรื่องธรรมชาติของทุกคน
ข.    ทุกคนมีสิทธิและมีความรับผิดชอบในการดำเนินวิถีชีวิตทางเพศของตน

.    ความสัมพันธ์ทางเพศก่อให้เกิดความกดดัน ข่มขู่ หรือแสวงหาประโยชน์

ง.     ความสัมพันธ์ทางเพศที่เกิดขึ้นเมื่อตนเองยังไม่พร้อมย่อมมีผลกระทบตามมา
18.    การปรับตัวทางเพศสำหรับคนวัยใดสำคัญที่สุด
.    วัยเด็ก                         .    วัยรุ่น                      .    วัยทอง                       .     วัยผู้ใหญ่
19.    สถานการณ์ใดเสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์มากที่สุด
.    กลับบ้านดึก                                                  .    เดินในที่เปลี่ยว
.    อยู่ในบ้านที่มีญาติผู้ชาย                             .     อยู่กับแฟนสองต่อสองในหอพัก
20.    การป้องกันตัวเองให้ปลอดภัยจากการถูกข่มขืนข้อใดดีที่สุด
.    แต่งตัวให้มิดชิด                                           ข.    หลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่ปลอดภัย
.            พกพาอาวุธติดตัว .             ถ้าจำเป็นต้องเดินในที่เปลี่ยวควรระมัดระวังตัวให้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น